ประวัติความเป็นมา

เมื่อได้จัดตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ขึ้น ในปี พ.ศ.2509 สถาบันได้ดําเนินการแบ่งส่วน ราชการในสํานักงานอธิการบดี โดยให้งานคลังของสถาบันเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของแผนคลัง ซึ่งเป็น – หน่วยงานในสังกัดกองกลาง สําหนังานอธิการบดี (ตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแบ่งส่วน ราชการ สํานักงานอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2514) ต่อมาในปี พ.ศ. – 2533 งานคลัง ได้เปลี่ยนฐานะเป็นคลัง (ตามคําสั่ง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่464/2533 ลงวันที่ – 27 กันยายน 2533 เรื่องการแบ่งหน่วยงานภายในกองกลาง สํานักงานอธิการบดี)

เนื่องจากภารกิจของสถาบันมีแนวโน้มที่จะขยายมากขึ้น ในปี พ.ศ.2534 สถาบันจึงให้แยกงานฝ่าย – คลังออกจากการบังคับบัญชาของกองกลาง ไปมีฐานะเป็นหน่วยงานภายในสังกัด สํานักงานอธิการบดี โดย ให้รองอธิการบดีฝ่ายบริหารเป็นผู้มีอํานาจกํากับดูแล และบรรดาอํานาจหน้าที่ของผู้อํานวยการกองตาม กฎหมาย กฎ ระเบียน ของทางราชการ และตามที่ได้รับมอบหมายจากอธิการบดี เป็นอํานาจหน้าที่ของ หัวหน้าฝ่าย (ตามคําสั่ง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ที่ 464/2534 ลงวันที่ 10 กันยายน 2534 เรื่อง แยก งานฝ่ายคลังออกจากกองกลาง)

ปี พ.ศ.2546 ฝ่ายคลังได้เปลี่ยนสอนภาพเป็น ส่วนการคลังและพัสดุ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีฐานะ เทียบเท่ากอง สังกัดสําหนังานอธิการบดี (ตามประกาศสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เรื่อง การแบ่ง ส่วนในราชการในสํานักงานอธิการบดี ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ) โดยแบ่งโครสร้าง ออกเป็น 7 งาน ดังนี้

1. งานการเงิน
2. งานบัญชี
3. งานเงินงบประมาณ
4. งานเงินนอกงบประมาณ
5. งานเงินกองทุน
6. งานพัสดุ
7. งานบริหารและธุรการ

ยุทธศาสตร์กองคลัง

ขอบเขตและภาระงาน

กองคลังและพัสดุ เป็นหน่วยงานสนับสนุนที่มีความสําคัญต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ในสถาบัน มีหน้าที่รับผิดชอบทรัพยากรทางการบริหารที่สําคัญ 2 ปัจจัย คือ เงิน และพัสดุ อุปกรณ์

ดังนั้น กองคลังและพัสดุจึงเป็นหน่วยงาน ที่ทําให้องค์กรบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบงานคลังในปัจจุบัน ของสถาบันมีการบริหารงานแบบรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง
โดยกองคลังและพัสดุเป็นหน่วยงานกลางของสถาบันรับผิดชอบในการบริหารงานงบประมาณการเงิน การบัญชี การพัสดุและทรัพย์สินของทุกหน่วยงานที่สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาตรวางแผนทางการเงิน ควบคุมและติดตามการใช้จ่าย เพื่อสนองตอบทิศทางในการดําเนินงานของสถาบันทั้งภายในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้ดําเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพบริหาร